วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

( ^^^^^การสัมมนาเชิงปฏิบัตการ โดยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

( การสัมมนาเชิงปฏิบัตการ “สิทธิการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ตามอนุสัญญา ILOฉบับที่ 87 และ 98 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย พ.ศ.2550จัดโดยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ )



              ชมรมลูกจ้างนักเรียนทุนสาธารณสุขจังหวัดยะลา เริ่มก่อตั้งในปีพ.ศ.2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานให้ดีขึ้น สมาชิกของชมรมเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านพื้นที่ชุมชน งานอนามัยแม่และเด็ก ฉีดยาเย็บแผลให้วัคซีนเด็ก งานผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สำรวจ จปฐ. งานสาธารณสุข ด้านป้องกันโรค อยู่ประจำสถานีอนามัย เป็นผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยแพยท์ตามโรงพยาบาล ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ สมาชิกมีความต้องการความมั่นคงก้าวหน้าและได้รับสวัสดิการที่เหมาะสม และที่สำคัญอย่างสูงสุด คือ ต้องการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนจึงได้ยื่นข้อเรียกร้องให้มีการช่วยเหลือในการบรรจุเป็นข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้มีการดำเนินการประสานงานไปยังคณะอนุกรรมาธิการด้านสาธารณสุขของรัฐสภาศูนย์อำนวยการบริหารภาคใต้ (ศอ.บต.) แล้ว
         ในปัจจุบันทางชมรมฯได้ทำงานร่วมกันอีกหลายจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยและต้องการได้รับโอกาสและความช่วยเหลือในด้านกฎหมายและสิทธิประโยชน์โดยเชื่อมร้อยเครือข่ายกับองค์กรต่างๆที่มีปัญหาใก้ลเคียงกัน เช่น สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดฯ และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาและแนะนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย นโยบายรัฐบาล และสิทธิการรวมกันเพื่อดำเนินการขอบรรจุเป็นพนักงานของรัฐต่อไป
          ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา ได้ชี้แจงเหตุผลสภาพปัญหาของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย ที่ต้องการได้รับโอกาสความช่วยเหลือในด้านกฎหมายและสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้เฉกเช่นระบบเดียวกับข้าราชการ อย่างที่ทราบกันอยู่ว่ามีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ขณะที่คนทงานก็ต้องมีหน้าที่ให้การรักษาช่วยเหลือชีวิตประชาชนทุกกลุ่มไม่ได้แบ่งแยกว่าต้องเป็นใคร แต่ชีวิตของคนงานผู้ปฏิบัติงานกลับดูเหมือนถูกละเลยเมินเฉยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขอขอบคุณ
ที่มา :  คุณเสน่ห์  หงษ์ทอง
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ >>>>>  http://www.thaiserc.com/  <<<<






วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของเงินบำรุง กระทรวงสาธารณสุข

เงินบำรุงโรงพยาบาล (กระทรวงสาธารณสุข)

ความหมาย
                                เงินบำรุง  หมายถึง  เงินที่หน่วยบริการได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์  เนื่องจากการดำเนินงานในกิจการของหน่วยบริการ  นอกเหนือจากเงินงบประมาณรายจ่าย และเงินรายรับอื่นที่หน่วยบริการ  ได้รับหรือจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการ นั้น

                                หน่วยบริการ  หมายถึง
                                1.  โรงพยาบาล  สถานีอนามัย  หรือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน
                                2.  หน่วยงานอื่นใดในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งดำเนินกิจการเพื่อการสาธารณสุขที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์
                               
การสาธารณสุข  หมายถึง  การส่งเสริมสุขภาพ  การฟื้นฟูสมรรถภาพ  การรักษาพยาบาล  การควบคุมป้องกัน  และกำจัดโรค  การศึกษาวิจัยค้นคว้าต่าง ๆ ตลอดจน  การชันสูตรและวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์  การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการสาธารณสุข  ตลอดจนการฝึกอบรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

การรับและจ่ายเงินบำรุง
1.  ต้องออกใบเสร็จทุกครั้งที่มีการรับเงิน
                                2.  จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพัน จ่ายได้เฉพาะกรณีที่พึงจ่ายจากเงินงบประมาณและเพื่อการปฏิบัติงานของหน่วยบริการ
                                3.  อำนาจอนุมัติก่อหนี้ผูกพัน  ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
                                4.  อำนาจในการอนุมัติการจ่ายเงินเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

รายจ่ายที่ห้ามจ่ายจากเงินบำรุง
                                1.  รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ  บำนาญ
                                2.  ค่าซ่อมแซมบ้านพัก  หรืออาคารที่พัก  ซึ่งมิใช่เป็นการต่อเติม  ปรับปรุงที่มีราคาเกินกว่า  100,000 บาท
                                3.  ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่มีราคาเกินกว่า  500,000 บาท
                                4.  ค่าครุภัณฑ์ที่มีราคาเกินกว่า  หน่วยละ  200,000 บาท
                                5.  รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ  เว้นแต่รถจักรยาน   2 ล้อ รถจักรยานยนต์ รถพยาบาล หรือรถกระบะ ซึ่งซื้อเพื่อทดแทนคันเดิม  ที่มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 7 ปี
                                6.  ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ
                                รายจ่ายห้ามจ่ายตามข้อ 2,3 และ 4   ถ้าจำเป็นต้องจ่ายเกินกว่าวงเงินที่กำหนด  หรือถ้าจำเป็นต้องจ่ายตามรายจ่ายข้อ 5  ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ


เงินนอกงบประมาณ
 ความหมาย
                   เงินนอกงบประมาณ  หมายถึง  เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนอกจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืน และเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน
                   เงินงบประมาณรายจ่าย  หมายถึง จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือให้ก่อหนี้ผูกพันได้ตามวัตถุประสงค์ และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
                   เงินรายได้แผ่นดิน   หมายถึง     เงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรม หรือนิติเหตุและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายด้วยวิธีการงบประมาณบัญญัติไม่ให้ส่วนราชกานั้น ๆ นำไปใช้จ่าย หรือหักไว้เพื่อการใดๆ
                   เงินเบิกเกินส่งคืน  หมายถึง  เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วนราชการเบิกจากคลังไปแล้วแต่ไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไปหมด หรือจ่ายไม่หมด หรือจ่ายไปแล้วแต่ถูกเรียกคืน และได้นำส่งคลังก่อนสิ้นปีงบประมาณหรือก่อนสิ้นระยะเวลาเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
                   เงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน  หมายถึง  เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วยราชการเบิกจากคลังไปแล้วแต่ไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด หรือจ่ายไปแล้วแต่ถูกเรียกคืน และได้นำส่งคลังภายหลังสิ้นปีงบประมาณหรือภายหลังระยะเวลาเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
 เงินนอกงบประมาณต้องมีกฎหมายรองรับ
                   พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491
                   เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง ทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการซึ่งอุญาติให้นำรายรับสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้
                   เงินยืมทดรองราชการ หมายถึง  เงินซึ่งกระทรวงการคลังอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวน          ที่เห็นสมควร เพื่อทดรองจ่ายเป็นค่าใช้สอยปลีกย่อย ประจำสำนักงาน ตามข้อบังคับ และระเบียบของกระทรวงการคลัง
                   เงินฝาก หมายถึง เงินที่กระทรวงการคลังรับฝากไว้ และจ่ายคืนตามคำขอของผู้ฝากตามข้อบังคับ และระเบียบของกระทรวงการคลัง
                   เงินขายบิล หมายถึง เงินที่กระทรวงการคลังรับไว้ ณ ที่แห่งหนึ่ง เพื่อโอนไปจ่าย ณ ที่อีกแห่งหนึ่ง  ตามข้อบังคับ และระเบียบของกระทรวงการคลัง

                   พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502
                   เงินบูรณะทรัพย์สิน หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหาย หรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินนั้นคืนมา
                   เงินบริจาค  หมายถึง เงินที่มีผู้มอบให้ หรือเงินที่เกิดจากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลให้นำไปใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการ
                   เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ หมายถึง เงินที่ได้รับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ ทบวงชำนาญพิเศษ องค์การระหว่างประเทศ หรือบุคคลใด
                   เงินบำรุงการศึกษา หมายถึง เงินทั้งปวงที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เพื่อบำรุงการศึกษานอกเหนือจากเงินงบประมาณรายจ่าย
                   เงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หมายถึง เงินทั้งปวงที่หน่วยบริการได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เนื่องจากการดำเนินงานนอกเหนือจากเงินงบประมาณ 
                   เงินทดรองราชการ หมายถึง เงินที่กระทรวงการคลังจ่าย และอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบหรือข้อบังคับของกระทรวงการคลัง
                   เงินทุนสำรองจ่าย หมายถึง เงินทุนจำนวน ร้อยล้านบาทซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งจ่ายจากเงินคงคลัง เพื่อให้นำไปใช้จ่ายในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการแผ่นดิน โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี และเมื่อได้จ่ายไปแล้วให้ขอตั้งรายจ่ายชดใช้เพื่อสมทบทุนนั้นไว้จ่ายต่อไป
               
                   กฎหมายพิเศษ
                   พระราชบัญญัติเฉพาะ เช่น กองทุนประกันสังคม
                   มติคณะรัฐมนตรี เช่น กองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ

ประโยชน์ของเงินนอกงบประมาณ
        1.   ผ่อนคลายการควบคุม
                        2.   มีการกระจายอำนาจให้ส่วนราชการ
                        3.   สะดวกคล่องตัวในการเบิกจ่าย
                        4.   การบริหารงานสำเร็จ รวดเร็ว
                        5.   เป็นส่วนเสริมภารกิจ กรณีเงินในงบประมาณได้รับการจักสรรไม่เพียงพอ

ประเภทของเงินนอกงบประมาณ
        1. ทุนหมุนเวียน
                        2. เงินทดรองราชการ
                        3. เงินฝาก
                        4. เงินขายบิล
                        5. เงินบูรณะทรัพย์สิน
                        6. เงินบริจาค
                        7. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
                        8. เงินบำรุงการศึกษา
                        9. เงินบำรุงโรงพยาบาล

***********************************
  เงินทุนหมุนเวียน

ความหมาย
                   เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง  ทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการซึ่งอนุญาตให้นำรายรับสมทบไว้ใช้จ่ายได้
                   การจ่ายเงินเป็นทุนหรือทุนหมุนเวียนเพื่อการใดๆ ให้กระทำได้แต่โดยกฎหมาย

การจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน
              1.  โดยกำหนดในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ได้แก่ เงินทุน ฯ ผลิตเหรียญกษาปณ์
                              2.  โดยกฎหมายพิเศษกำหนด (พระราชบัญญัติเฉพาะ) ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการชลประทาน (พระราชบัญญัติชลประทานหลวง พ.ศ. 2518) 
ประเภทของเงินทุน ฯ ในปัจจุบัน
- กลุ่ม A เงินทุนหมุนเวียนที่ดำเนินงานให้กู้ยืมแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่น เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู
- กลุ่ม B เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการผลิตสินค้าหรือบริการจำหน่ายให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็นส่วนราชการหรือประชาชนทั่วไป
- กลุ่ม C  เงินทุนหมุนเวียนประเภทต่าง ๆ

การเสนอขอจัดตั้งทุนหมุนเวียน
                       ในการเสนอขอจัดตั้งทุนหมุนเวียน ส่วนราชการเจ้าของเรื่องจะต้องจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี โดยให้มีเนื้อหาสาระ  (ตามหลักเกณฑ์ตามหนังสือสำนักงบประมาณ  ด่วนที่สุด  ที่ นร 0408/ ว 167 ลงวันที่  27 กันยายน  2538)  ดังนี้
                               1.      หลักการและเหตุผล  ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้ (อาจจะเขียนเป็นหัวข้อหรือเขียนรวม ๆ มาก็ได้)
                                        1.1  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น
                                        1.2  สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวโน้ม
                                        1.3  การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ล่วงมาแล้ว
                                        1.4  ความจำเป็นที่ต้องดำเนินการจัดตั้ง/ขอเพิ่มทุน
                               2.      วัตถุประสงค์  ให้ระบุถึงเจตนารมณ์หรือความต้องการที่จะให้บังเกิดขึ้นหลังจากการดำเนินงานหรือการบริหารทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ที่ระบุนั้นจะต้องชัดเจน เป็นผลจากการดำเนินงานและสามารถประเมินผลได้
                               3.      เป้าหมาย  ให้ระบุถึงผลสำเร็จในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ จะต้องพยายามแสดงให้ปรากฏในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ซึ่งสามารถตรวจสอบและวัดได้ภายในกำหนดช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ไม่ควรเกิน 5 ปี) หรือในกรณีทุนหมุนเวียนดำเนินงานต่อเนื่องให้ใช้ระยะเวลาตามแผนพัฒนา
                               4.      ระยะเวลาดำเนินงาน  ให้ระบุช่วงระยะเวลาที่จะดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย   ในกรณีที่การจัดตั้งทุนหมุนเวียนเป็นการจัดตั้งตามโครงการต่าง ๆ จะต้องมีระยะเวลาของการดำเนินงานไม่ควรเกิน 5 ปี  และ        ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งในกรณีอื่นที่ไม่สามารถระบุระยะเวลาในการดำเนินงานได้ ให้ระบุเป็นเงื่อนไขว่า จะยุบเลิก        ทุนหมุนเวียนในกรณีใดบ้าง
                               5.      แผนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้  ให้ระบุกิจกรรมหลัก ๆ ที่จะต้องดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 3 ให้ชัดเจน รวมทั้งระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมด้วย
                               6.      วิธีดำเนินงาน  ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
                                        6.1 รูปแบบการบริหารทุนหมุนเวียนว่าจะบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารงานโดยหน่วยงานภายในของส่วนราชการนั้น ๆ หรือโดยวิธีอื่นใด รวมทั้งองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียน และกรณีทุนหมุนเวียนที่ขอรับเงินสนับสนุนจากเงินงบประมาณแผ่นดินเป็นจำนวนเงินค่อนข้างสูงหรือจะต้องจัดเงินเพิ่มเติมให้เป็นรายปีตามกิจกรรมที่ต้องเพิ่มเติมขึ้น ควรจะมีผู้แทนจากส่วนราชการที่รับผิดชอบทางด้านการเงินและ     การคลังรวมอยู่ด้วย
                                        6.2  โครงสร้างองค์กรของทุนหมุนเวียน รวมทั้งบุคลากรที่จะปฏิบัติงานให้กับทุนหมุนเวียน    ว่าจะต้องใช้บุคลากรจากหน่วยงานใดบ้าง
                                        6.3  ขั้นตอนของการดำเนินงานพร้อมทั้งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตั้งแต่การรับเรื่อง  การอนุมัติ การรับ-จ่ายเงิน
                               7.      เงินทุนที่ต้องใช้  ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
                                        7.1  แหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากแหล่งใดบ้าง
                                        7.2  รายได้หรือรายรับจากการดำเนินงาน
                                        7.3  หลักเกณฑ์และหลักการในการใช้จ่ายเงินทุน จะใช้จ่ายได้ในกิจกรรมใดบ้าง เช่น ให้เกษตรกรกู้ยืมเงินเพื่อไถ่ถอนที่ดินทำกินจากเอกชน หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทุนหมุนเวียน เป็นต้น ทั้งนี้ ขอให้ระบุค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในการดำเนินงานด้วย
                                        7.4  เงินทุนที่ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ให้แสดงแผนการเงิน (รายรับ-รายจ่าย) ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี โดยแยกรายละเอียดเป็นแต่ละปีด้วย
                               8.      การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน  ให้ระบุหน่วยงานหรือบุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบติดตามความสำเร็จของงานตามแผนการดำเนินงาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์และให้ระบุวิธีการติดตามประเมินผล พร้อมทั้งระยะเวลาการรายงานผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินด้วย
                               9.      ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  ให้ระบุผลประโยชน์หรือข้อดีต่าง ๆ ที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม หลังจากที่ได้ดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 3 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับนี้จะกำหนดในรูปของตัวเงินหรือไม่ใช่ในรูปของตัวเงินก็ได้ และในกรณีที่สามารถระบุจำนวนประชาชนผู้ได้รับประโยชน์หรือสามารถครอบคลุมพื้นที่ใดบ้าง คิดเป็นเนื้อที่เท่าใดได้ก็ขอให้ระบุมาด้วย
                               10.    หน่วยงานผู้รับผิดชอบ  ให้ระบุหน่วยงานในระดับสำนัก หรือกอง ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบทุนหมุนเวียน
  
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้จัดตั้งทุนหมุนเวียน
                1.  พิจารณาถึงความจำเป็น
                2.  ไม่เป็นกิจกรรมที่แข่งขันกับเอกชน
                3.  ไม่เป็นกิจกรรมที่ซ้ำซ้อน
                4.  มีวัตถุประสงค์และแผนงานชัดเจน
                5.  ควรศึกษาพื้นที่ดำเนินการ และลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
                6.  ความพร้อมทางด้านเงินทุนและบุคลากร

ขั้นตอนการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนเมื่อได้รับอนุมัติจัดตั้ง
                                      1.  แจ้งกระทรวงการคลังและขอเปิดบัญชีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อโอนเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
                      2.  กำหนดระเบียบของเงินทุนหมุนเวียน โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
                      3.  จัดทำประมาณการรายรับ-รายจ่าย ประจำปี ของเงินทุนหมุนเวียน เสนอขออนุมัติกระทรวงการคลัง
                      4.  จัดทำงบการเงินเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
                      5.  จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียน เสนอหัวหน้าส่วนราชการและกระทรวงการคลัง

การยื่นประมาณการรายรับ รายจ่ายประจำปีของทุนหมุนเวียน
                               ส่วนราชการเจ้าสังกัดทุนหมุนเวียนซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี  ต้องจัดทำประมาณการรายรับ รายจ่ายประจำปีของทุนหมุนเวียนให้กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติตาม  หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0506/1191-1221 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2538 และหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตี ที่ นร 0201/14438 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2529  ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้
                               1. ส่วนราชการเจ้าสังกัดทุนหมุนเวียนยื่นประมาณการรายจ่ายประจำปี  เสนอขออนุมัติต่อกระทรวงการคลังภายในเดือนมิถุนายน ของทุก ๆ ปี
                               2. หากส่วนราชการใดไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในเวลาที่กำหนด ให้ส่วนราชการนั้น  รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ และแนบสำเนาหนังสือรายงานรัฐมนตรีเจ้าสังกัดดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง พร้อมกับส่งประมาณการรายรับ รายจ่ายประจำปีให้กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติต่อไป

การควบคุมเงินทุน ฯ
              1.  ควบคุมโดยกระทรวงการคลัง(กำหนดระเบียบ อนุมัติประมาณการรายจ่ายประจำปี ทำความตกลงกรณีนอกเหนือระเบียบ)
              2.  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ตรวจสอบงบการเงิน)
              3.  การติดตามประเมินผลของกระทรวงการคลัง

การติดตามประเมินผลทุนหมุนเวียน
                               เนื่องจากทุนหมุนเวียนแต่ละทุนมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่แตกต่างกันออกไป และมีกลุ่มเป้าหมายของการดำเนินงานกระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดังนั้น ภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของกรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้กำกับดูแลทุนหมุนเวียน จึงจำเป็นต้องมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุนหมุนเวียนมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของทุนหมุนเวียนนั้น ๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

                               กรมบัญชีกลางได้ขอความร่วมมือให้ส่วนราชการจัดทำรายงานต่าง ๆ เป็นรายเดือนเพื่อนำมาวิเคราะห์  และจัดทำรายงานทางการเงิน  รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารเดินทางไปติดตามผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนนั้น ๆ   เพื่อให้รับทราบถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติประมาณการรายจ่ายประจำปี   ปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   นอกจากนี้  ได้เตรียมที่จะนำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานมาใช้  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินของทุนหมุนเวียนควบคู่กันด้วย

การรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน

                                ตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2543 บัญญัติให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีมีอำนาจรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติ  ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การยุบรวมทุนหมุนเวียน 
      การรวมทุนหมุนเวียนให้กระทำได้เมื่อทุนหมุนเวียนที่จะรวมกัน  มีวัตถุประสงค์เหมือนกันหรือสามารถดำเนินการร่วมกันได้  และต้องไม่มีผลที่เป็นการขยายวัตถุประสงค์เกินกว่าวัตถุประสงค์เดิมของทุนหมุนเวียนที่นำมารวมกัน   ซึ่งการรวมทุนหมุนเวียนอาจเป็นการรวมโดยการจัดตั้งเป็นทุนหมุนเวียนขึ้นใหม่หรือโดยการรวมทุนหมุนเวียนเดิมเข้าด้วยกันก็ได้
2. การยุบเลิกทุนหมุนเวียน 
                                    การยุบเลิกทุนหมุนเวียน  ให้กระทำได้เมื่อปรากฏว่า  หมดความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งทุนหมุนเวียนนั้นแล้ว  หรือทุนหมุนเวียนได้หยุดดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  และไม่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
                                3. แนวทางการการดำเนินการรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน
                                     ให้กระทรวงการคลังกระทรวงการคลังโดยปรึกษาร่วมกับสำนักงบประมาณเสนอ             ขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อรวม หรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน  โดยเสนอความเห็นของหน่ายงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบทุนหมุนเวียนประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย  และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้รวมทุนหมุนเวียนใด   ให้โอนสินทรัพย์และหนี้สินของทุนหมุนเวียนเดิมไปเป็นของทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรือที่รวมเข้าด้วยกัน  ทั้งนี้  เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบเลิกทุนหมุนเวียนใด  ให้ถือว่าเป็นการยุบเลิกทุนหมุนเวียนนั้นตามกฎหมาย 
***********************************
เงินทดรองราชการ

ความหมาย
                   เงินทดรองราชการ หมายถึง  เงินจำนวนหนึ่งซึ่งกระทรวงการคลังสั่งจ่ายจากเงินคงคลัง สำหรับให้ส่วนราชการมีไว้เพื่อทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายที่กำหนด

รายจ่ายซึ่งทดรองจ่ายจากเงินทดรองราชการได้
             1.  หมวดค่าจ้างชั่วคราว สำหรับค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอน เป็นการจ่ายแต่ละวัน หรือแต่ละคราวเมื่องานเสร็จ
             2.  หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ
             3.  หมวดค่าสาธารณูปโภค เฉพาะค่าไปรษณีย์โทรเลข
             4.  งบกลาง เฉพาะเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร  เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล

การเก็บรักษาเงินทดรองราชการ
             1.  เบิกกับกรมบัญชีกลาง โดยเก็บรักษา ณ ที่ทำการของส่วนราชการไม่เกิน 20,000 บาท หรือที่หน่วยงานในสังกัดไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนที่เกินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย
             2.  เบิกกับสำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ โดยเก็บรักษา ณ หน่วยราชการ ไม่เกิน 5,000 บาท ส่วนที่เกินให้นำฝากคลัง หรือสาขาธนาคารแห่งประเทศไทย
             3.  การเก็บรักษา ฯ ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงิน โดยอนุโลม
             4.  กรณีจะเก็บเงินทดรอง ฯ เป็นอย่างอื่น ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง

การเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ
              1.  ปฏิบัติตามระเบียบเบิกจ่ายเงินจากคลังโดยอนุโลม
              2.  ต้องมีใบสำคัญคู่จ่ายเป็นหลักฐาน และให้เบิกเงินงบประมาณชดใช้เงินทดรองราชการ
              3.  ส่วนราชการต้องแจ้งยอดเงินทดรองทุกสิ้นปีตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดภายใน 3 วันทำการนับจากวันสิ้นปี 
 ***********************************
 เงินฝาก

ความหมาย

เงินฝาก หมายถึง เงินที่กระทรวงการคลังรับฝากไว้และจ่ายคืนตามคำขอของผู้ฝาก ตามข้อบังคับและระเบียบของกระทรวงการคลัง  ซึ่งระเบียบเงินนอกงบประมาณ  ประเภทเงินฝาก  ของส่วนราชการต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณไว้ดังนี้
                     1. การจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน  ให้พึงใช้จ่ายเช่นเดียวกับเงินงบประมาณ  และเพื่อการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น ๆ
                      2. การเบิกจ่ายต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
                      3. หากส่วนราชการไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบ  ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
               
เงินที่ส่วนราชการจะนำฝากต้องไม่เป็น
1.    เงินงบประมาณ
2.    เงินที่มีบัญชีเงินทุนหมุนเวียน
3.    เงินรายได้แผ่นดิน
...เว้นแต่ จะได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง...

หลักเกณฑ์การฝากและถอนคืน
1.    การนำเงินฝากคลัง  ส่วนราชการต้องขอตกลงเปิดบัญชีเงินฝากกับกระทรวงการคลังก่อน
2.    การนำเงินฝากคลังต้องนำฝากทั้งสิ้น กรณีจะเก็บไว้ใช้จ่ายเป็นเงินสด หรือนำฝากธนาคาร ต้องขอข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง
                                3.  การนำเงินฝากคลัง ใช้ใบนำส่งเงินนอกงบประมาณ
                                4.  การเบิกเงินฝากจากคลัง ใช้ฎีกาเงินนอกงบประมาณ
                                5.  การเบิกเงินฝากจากคลังให้ปฏิบัติตามระเบียบเบิกจ่ายเงินจากคลังโดยอนุโลม
                                6.  เงินที่เบิกจากคลัง ถ้าจ่ายไม่หมดหรือยังไม่ได้จ่ายภายใน 15 วัน   นับจากวันที่ได้รับเงินจากคลังให้ผู้เบิกนำฝากคลังในวันรุ่งขึ้น                
                                7.  การเบิกเงินฝากที่ส่วนกลาง ใช้ฎีกากับสมุดคู่มือวางฎีกา ส่วนภูมิภาคใช้ฎีกากับสมุดคู่มือฝากคลัง     
                                8.  กรณีให้ผู้อื่นถือสมุดคู่มือฝากคลังแทน  ต้องแจ้งให้คลังทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
                                9.  กรณีสมุดคู่มือฝากคลังหาย ต้องแจ้งให้คลังทราบ
                                10.  ห้ามคลังรับฝากและถอนคืน ถ้าไม่มีสมุดคู่มือวางฎีกาหรือสมุดคู่มือฝากคลัง
11.  หัวหน้าส่วนราชการต้องตรวจสอบรับรองบัญชีเงินฝากคลัง  และงบเงินคงคลังประจำวัน เป็นประจำทุกวัน
***********************************
เงินขายบิล
 ความหมาย
                เงินขายบิล  หมายถึง  เงินที่กระทรวงการคลังรับไว้ ณ ที่แห่งหนึ่ง เพื่อโอนไปจ่าย ณ ที่อีกแห่งหนึ่ง  ตามข้อบังคับและระเบียบของกระทรวงการคลัง  เงินที่ขอโอนขายบิลต้องไม่ใช่เงินงบประมาณ

การขอโอนเงินขายบิลกระทำได้  3  กรณี
                                1.  โอนจากกรุงเทพฯ ไปตั้งจ่ายทางจังหวัดหรืออำเภอ                    
                                2.  โอนจากจังหวัดหรืออำเภอ ไปตั้งจ่ายที่กรุงเทพฯ
                                3.  โอนจากจังหวัดหรืออำเภอหนึ่ง ไปตั้งจ่ายที่จังหวัดหรืออำเภอหนึ่ง                                                                               
***********************************

เงินบูรณะทรัพย์สิน

ความหมาย
                                ตามมาตรา 24  แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502  และที่แก้ไขบัญญัติว่า
รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินในกรณีดังต่อไปนี้  นำเงินนั้นไปจ่ายโดยไม่ต้องนำส่งคลัง

                                - เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหาย  หรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา

วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินบูรณะทรัพย์สิน
                                1.  เมื่อได้รับอนุญาตให้นำไปใช้จ่ายแล้วให้นำฝากเข้าบัญชีเงินฝากเพื่อบูรณะทรัพย์สินก่อน
                                2.  ถ้าจำนวนเงินไม่ถึง 10,000 บาท  ส่วนราชการอาจจะขอตกลงกับกระทรวงการคลัง โดยไม่ขอนำฝากคลังก็ได้   
                                3.  การก่อหนี้ผูกพัน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเงินงบประมาณ
                                4.  กรณีเมื่อครบ  1  ปี  นับจากวันที่นำส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กระทรวงการคลังกำหนด  หากส่วนราชการยังมีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายเงินต่อไป  ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง (ยกเว้นกระทรวงกลาโหม 2  ปี  ถือปีงบประมาณเลขคู่)  สำหรับเงินบูรณะทรัพย์สินที่ได้รับอนุมัติก่อนวันที่ 3 เมษายน 2545 
                                    ส่วนเงินบูรณะทรัพย์สินที่ได้รับอนุมัติหลังวันที่ 3 เมษายน 2545  ให้ใช้จ่ายได้ภายในระยะเวลาแต่ละงวด  งวดละ 2 ปีงบประมาณ  โดยให้ถือวันทำการสุดท้ายของปีงบประมาณที่มีเลขคู่เป็นระยะเวลาสิ้นสุด
                                5.  กรณีส่วนราชการใช้จ่ายเงินครบถ้วนตามวัตถุประสงค์แล้ว  ให้แจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อดำเนินการเบิกหักผลักส่งเงินที่เหลือเป็นรายได้แผ่นดิน  ประเภทรายได้เบ็ดเตล็ด
                                6.  ส่วนราชการใดจะชดใช้ค่าเสียหายให้ส่วนราชการอื่น  ให้เบิกหักผลักส่งเข้าบัญชีเงินฝากเพื่อบูรณะทรัพย์สิน ของส่วนราชการผู้ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย

***********************************
  
เงินบริจาค
 ความหมาย
                                เงินบริจาค  หมายถึง  เงินซึ่งมีผู้มอบให้ส่วนราชการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการนั้นใช้จ่ายในกิจกรรมของส่วนราชการนั้น  หรือเป็นเงินที่เกิดจากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้น
                                เงินที่ได้รับมาในลักษณะดังกล่าวไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินโดยถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ. 2526

การรับบริจาคให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
                                1.  คำนึงถึงผลดีผลเสีย  ประโยชน์  และค่าตอบแทน
                                2.  ถ้ามีเงื่อนไขต้องไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้ใดโดยเฉพาะ
                                3.  พิจารณาผลตอบแทนคุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียหรือไม่
                                4.  กรณีรับบริจาคทรัพย์สิน ให้ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ด้วย
                                5.  รับบริจาคเงิน  หรือทรัพย์สินไม่ตรงกับอำนาจหน้าที่ ให้ส่งมอบแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

การเก็บรักษาเงินบริจาค
                                1.  เก็บรักษาเงินสดเพื่อสำรองจ่ายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง  นอกนั้นให้นำฝากกระทรวงการคลัง  สำนักงานคลังจังหวัด  หรือสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอ
                                2.  หากต้องการนำฝากธนาคาร  ให้ขอความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

การจ่ายเงินบริจาค 
                                1.  จ่ายตามที่บริจาคระบุวัตถุประสงค์ไว้  หากวัตถุประสงค์ไม่ชัดแจ้ง  ให้นำไปจ่ายเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทางราชการโดยส่วนรวม
                                2.  ให้หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจสั่งจ่ายเงินบริจาค
                                3.  การปฏิบัติเกี่ยวกับบัญชี  วิธีการจ่าย  และหลักฐานการจ่ายเงินบริจาค  การพัสดุ  ให้เป็นไปตามระเบียบทางราชการ  โดยอนุโลม  เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่น

***********************************

เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ความหมาย
                                เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ  หมายถึง  เงินที่ได้รับจากรัฐบาลต่างประเทศ  องค์การสหประชาชาติ  ทบวงการชำนัญพิเศษฯ  องค์การระหว่างประเทศ  หรือบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นเงินกู้ หรือเงินให้เปล่า

การบริหารเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
                                กระทรวงการคลังได้กำหนดระเบียบการควบคุมการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศไว้ ดังนี้
                                1.  เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ  ที่ส่วนราชการได้รับผ่านกรมวิเทศสหการ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรมวิเทศสหการ
                                2.  เงินช่วยเหลือที่ส่วนราชการได้รับโดยตรง  ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม  เช่น  ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง  ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  เป็นต้น  หรือกำหนดระเบียบขึ้นใหม่ให้เหมาะสมโดยขอความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

***********************************

เงินบำรุงการศึกษา
 ความหมาย
                                เงินบำรุงการศึกษา  หมายถึง  เงินทั้งปวงที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์  เพื่อบำรุงการศึกษานอกเหนือจากงบประมาณรายจ่าย
                                สถานศึกษา  หมายถึง  วิทยาลัย  โรงเรียน  หรือสถานที่ศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

การรับ จ่าย เงินบำรุงการศึกษา
                                1.  ต้องออกใบเสร็จทุกครั้งที่มีการรับเงิน
                                2.  จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพัน จ่ายได้เฉพาะในกิจการของสถานศึกษานั้น
                                3.  อำนาจอนุมัติก่อหนี้ผูกพัน  ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
                                4.  อำนาจในการอนุมัติการจ่ายเงินเป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
                                5.  การใช้จ่ายเงินบำรุงการศึกษาให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่พึงจ่ายจากเงินงบประมาณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด  ดังนี้
                                                5.1  ค่าจ้างชั่วคราว  โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
                                                5.2  ค่าตอบแทน  ใช้สอย  และวัสดุ  เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการต่างประเทศ
                                                5.3  ค่าสาธารณูปโภค
                                                5.4  ค่าครุภัณฑ์  ที่จำเป็นแก่การปฏิบัติราชการของสถานศึกษา  ราคาไม่เกินหน่วยละ     60,000 บาท
                                                5.5  ค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง  ราคาไม่เกิน  120,000 บาท
                                                5.6  รายจ่ายประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง
                                รายจ่ายตามข้อ 5.5  และ 5.6  ถ้าจำเป็นต้องจ่ายให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ

***********************************